ประวัติเป็นมาของละคร
ละครเป็นกระบวนการหนึ่งที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารให้ผู้อื่นรับรู้เรื่องราวความเป็นไปต่างๆของประวัติศาสตร์
สังคมและวัฒนธรรม โดยธรรมชาติเอื้ออำนวยให้มนุษย์ใช้ร่างกายประกอบการเล่าเรื่อง
เช่นต่อสู้ผจญภัย การดำเนินชีวิตของคนในสังคมสามารถถ่ายทอดการเล่าเรื่องนั้นๆ
ผ่านการแสดงได้อย่างสนุกสนาน เพลิดเพลิน
ละครได้รับการพัฒนาต่อมาโดยการที่มนุษย์เลือกสรรและสร้างสรรค์รูปแบบการถ่ายทอดจินตนาการต่างๆ
ผ่านทางกระบวนการสื่อสาร โดยสื่อให้มีความหมายเฉพาะ ทำให้เกิดการเข้าใจกันได้ในกลุ่มชนนั้นๆ
และยังเป็นรูปแบบของความบันเทิงที่สะท้อนความโลดโผน ความสนุกสนาน
ความประณีตของศิลปะและวัฒนธรรม
ค่านิยมที่ดีงามดังกล่าวสมควรสืบทอดเป็นสมบัติอยู่คู่วิถีชีวิตของประชาชนทั่วไปอีกด้วย
มีผู้กล่าวกันว่า
ศิลปะการละครนั้นมีมานานหลายสมัยสืบต่อๆกันมาและมีแบบต่างๆกันเช่นละครนอกละครใน
ละครพันทาง ละครเสภา ละครร้อง ละครรำ
ตลอดจนถึงละครสั้นๆที่มีบทตลกขบขันเป็นที่สนุกสนานเพลิดเพลิน
ซึ่งแพร่หลายอยู่ทั่วไป จากละครต่างๆเหล่านี้ ต่อมาได้ถูกดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนต์
ผลิตเป็นอุตสาหกรรมได้ด้วย
จากการบรรยายของอาจารย์มนตรี ตราโมท ในรายการ การละเล่นของไทย ซึ่งออกรายการโทรทัศน์ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2509 ได้อธิบายว่า
"ละคร" หมายถึง การแสดงที่ดำเนินเป็นเรื่องราว เข้าใจว่าได้รับวัฒนธรรมมาจากอินเดีย เพราะมีวิธีการแสดงและท่ารำที่คล้ายคลึงกับของอินเดีย ทั้งนี้ในสมัยโบราณอินเดียเป็นประเทศที่มีความเจริญทางวัฒนธรรมและอารยธรรมสูงมาก และได้เผยแพร่วิทยาการไปยังประเทศต่างๆ เช่น การแพทย์ กฎหมาย อักษรศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณี รวมทั้งการละครด้วยประเทศไทยได้รับความเจริญทางการละครมาจากอินเดียเช่นเดียวกับที่ได้รับวัฒนธรรมการร้องเพลงตามแบบชาวตะวันตก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงนิพนธ์ไว้ว่า "ละคร" นั้นแต่เดิมมีในกรุงศรีอยุธยา ขุนศรัทธานำไปเผยแพร่ (มีปรากฏในคำไหว้ครูของโนราบางคณะ) ที่นครศรีธรรมราช ซึ่งเขารักษาไว้อย่างยืนยง ส่วนทางกรุงศรีอยุธยารักษาไว้ไม่ได้ จึงมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นเรื่อยๆ
คำว่า "ละคร" พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานแปลว่า "การมหรสพอย่างหนึ่ง เล่นเป็นเรื่องเป็นราวต่างๆ" เมื่อเพิ่มคำว่า "การ" เข้ามากลายเป็น "การละคร" การละครเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ ทุกเชื้อชาติ ละครหมายถึงการแสดงที่ผูกเป็นเรื่อง มีองค์ประกอบ คือ เนื้อเรื่อง เนื้อหา สรุป มีบทบาทในประวัติศาสตร์การศึกษาทั่วโลก เป็นเวลานานแล้ว
ลักษณะและประเภทของละคร แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1. ละครรำ หมายถึง ละครประเภทที่ใช้ศิลปะในการร่ายรำดำเนินเรื่อง ได้แก่ ละครโนราห์ชาตรี เป็นต้น
2. ละครร้อง หมายถึง ละครประเภทที่ใช้ศิลปะในการร้องดำเนินเรื่อง ได้แก่ ละครเรื่อง สาวเครือ ฟ้า เป็นต้น
3. ละครพูด หมายถึง ละครประเภทที่ใช้ศิลปะในการพูดดำเนินเรื่อง ได้แก่ ละครเรื่องหัวใจนักรบ เป็นต้น
อิทธิพลตะวันตกทำให้รูปแบบการละครและบทละครของไทยเปลี่ยนแปลงไป 2 ประการคือ
1. ละครซึ่งปรับปรุงจากละครรำเดิม ตั้งแต่สมัยรัชการที่ 5 เป็นต้นมา ละครตะวันตกทำให้ละครไทยเดิมเสื่อมความนิยมลง เกิดละครชนิดใหม่ขึ้นโดยได้แนวคิดจากการแสดงโอเปร่า (OPERA) ของตะวันตก เจ้าพระยาเทเวศร์ฯ ได้สร้าง "โรงละครดึกดำบรรพ์" ขึ้นประจวบกับละครของท่านปรับปรุงขึ้นเป็นนาฏศิลป์อย่างใหม่จึงทำให้คนดูเรียกชื่อละครตามชื่อของโรงละครว่า "ละครดึกดำบรรพ์"
2. ละครพูดสมัยใหม่(Modern) เป็นรูปแบบของวรรณกรรมที่พัฒนามาจาก ละครพูดสมัยโบราณแต่มีการศึกษาแบบแผนการแสดงละครจากตะวันตก และนำมาปรับปรุงเทคนิคการแสดง บทที่ใช้ ตลอดจนปรัชญาในการแสดงให้สอดคล้องกับเรื่องที่นำมาแสดง ต่อมาปรับปรุงให้สอดคล้องกับวิทยาการใหม่ๆ ได้แก่ละครวิทยุ และละครโทรทัศน์ ละครทั้ง 2 ประเภทก็จัดเป็นละครเวที และยังมีละครที่ในปัจจุบันนี้ยังคงเป็นที่สนใจเป็นอย่างมากได้แก่
2.1 ละครวิทยุ คำว่า "วิทยุ" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายว่าหมายถึง กระแสคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดที่เคลื่อนไปตามอากาศได้ โดยไม่ต้องใช้สาย และอาจเปลี่ยนเป็นเสียงหรือรูปได้วิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อมวลชนที่มีอิทธิพลมากในปัจจุบัน เพราะวิทยุสามารถเข้าถึงประชาชนได้ทุกชั้น ทุกวัย ทุกสภาพของท้องถิ่น วิทยุเข้าถึงประชาชนได้ทั่วถึงและมากกว่าโทรทัศน์ เพราะราคาของเครื่องรับถูกกว่าโทรทัศน์มาก ประกอบกับรัศมีกำลังส่งของวิทยุแพร่กระจายไปได้ไกลกว่าโทรทัศน์ จึงมีผู้นิยมจัดละครวิทยุกันมาก และเป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไป
จากการบรรยายของอาจารย์มนตรี ตราโมท ในรายการ การละเล่นของไทย ซึ่งออกรายการโทรทัศน์ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2509 ได้อธิบายว่า
"ละคร" หมายถึง การแสดงที่ดำเนินเป็นเรื่องราว เข้าใจว่าได้รับวัฒนธรรมมาจากอินเดีย เพราะมีวิธีการแสดงและท่ารำที่คล้ายคลึงกับของอินเดีย ทั้งนี้ในสมัยโบราณอินเดียเป็นประเทศที่มีความเจริญทางวัฒนธรรมและอารยธรรมสูงมาก และได้เผยแพร่วิทยาการไปยังประเทศต่างๆ เช่น การแพทย์ กฎหมาย อักษรศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณี รวมทั้งการละครด้วยประเทศไทยได้รับความเจริญทางการละครมาจากอินเดียเช่นเดียวกับที่ได้รับวัฒนธรรมการร้องเพลงตามแบบชาวตะวันตก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงนิพนธ์ไว้ว่า "ละคร" นั้นแต่เดิมมีในกรุงศรีอยุธยา ขุนศรัทธานำไปเผยแพร่ (มีปรากฏในคำไหว้ครูของโนราบางคณะ) ที่นครศรีธรรมราช ซึ่งเขารักษาไว้อย่างยืนยง ส่วนทางกรุงศรีอยุธยารักษาไว้ไม่ได้ จึงมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นเรื่อยๆ
คำว่า "ละคร" พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานแปลว่า "การมหรสพอย่างหนึ่ง เล่นเป็นเรื่องเป็นราวต่างๆ" เมื่อเพิ่มคำว่า "การ" เข้ามากลายเป็น "การละคร" การละครเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ ทุกเชื้อชาติ ละครหมายถึงการแสดงที่ผูกเป็นเรื่อง มีองค์ประกอบ คือ เนื้อเรื่อง เนื้อหา สรุป มีบทบาทในประวัติศาสตร์การศึกษาทั่วโลก เป็นเวลานานแล้ว
ลักษณะและประเภทของละคร แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1. ละครรำ หมายถึง ละครประเภทที่ใช้ศิลปะในการร่ายรำดำเนินเรื่อง ได้แก่ ละครโนราห์ชาตรี เป็นต้น
2. ละครร้อง หมายถึง ละครประเภทที่ใช้ศิลปะในการร้องดำเนินเรื่อง ได้แก่ ละครเรื่อง สาวเครือ ฟ้า เป็นต้น
3. ละครพูด หมายถึง ละครประเภทที่ใช้ศิลปะในการพูดดำเนินเรื่อง ได้แก่ ละครเรื่องหัวใจนักรบ เป็นต้น
อิทธิพลตะวันตกทำให้รูปแบบการละครและบทละครของไทยเปลี่ยนแปลงไป 2 ประการคือ
1. ละครซึ่งปรับปรุงจากละครรำเดิม ตั้งแต่สมัยรัชการที่ 5 เป็นต้นมา ละครตะวันตกทำให้ละครไทยเดิมเสื่อมความนิยมลง เกิดละครชนิดใหม่ขึ้นโดยได้แนวคิดจากการแสดงโอเปร่า (OPERA) ของตะวันตก เจ้าพระยาเทเวศร์ฯ ได้สร้าง "โรงละครดึกดำบรรพ์" ขึ้นประจวบกับละครของท่านปรับปรุงขึ้นเป็นนาฏศิลป์อย่างใหม่จึงทำให้คนดูเรียกชื่อละครตามชื่อของโรงละครว่า "ละครดึกดำบรรพ์"
2. ละครพูดสมัยใหม่(Modern) เป็นรูปแบบของวรรณกรรมที่พัฒนามาจาก ละครพูดสมัยโบราณแต่มีการศึกษาแบบแผนการแสดงละครจากตะวันตก และนำมาปรับปรุงเทคนิคการแสดง บทที่ใช้ ตลอดจนปรัชญาในการแสดงให้สอดคล้องกับเรื่องที่นำมาแสดง ต่อมาปรับปรุงให้สอดคล้องกับวิทยาการใหม่ๆ ได้แก่ละครวิทยุ และละครโทรทัศน์ ละครทั้ง 2 ประเภทก็จัดเป็นละครเวที และยังมีละครที่ในปัจจุบันนี้ยังคงเป็นที่สนใจเป็นอย่างมากได้แก่
2.1 ละครวิทยุ คำว่า "วิทยุ" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายว่าหมายถึง กระแสคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดที่เคลื่อนไปตามอากาศได้ โดยไม่ต้องใช้สาย และอาจเปลี่ยนเป็นเสียงหรือรูปได้วิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อมวลชนที่มีอิทธิพลมากในปัจจุบัน เพราะวิทยุสามารถเข้าถึงประชาชนได้ทุกชั้น ทุกวัย ทุกสภาพของท้องถิ่น วิทยุเข้าถึงประชาชนได้ทั่วถึงและมากกว่าโทรทัศน์ เพราะราคาของเครื่องรับถูกกว่าโทรทัศน์มาก ประกอบกับรัศมีกำลังส่งของวิทยุแพร่กระจายไปได้ไกลกว่าโทรทัศน์ จึงมีผู้นิยมจัดละครวิทยุกันมาก และเป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไป
ละครวิทยุกำเนิดหลังละครเวที
เป็นการนำการแสดงที่มีอยู่มาออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียง
ดังนั้นลักษณะของบทละครวิทยุจึงแต่ต่างจากบทละครทั่วไป
ผู้ประพันธ์จะต้องหาวิธีสร้างจินตนาการให้แก่ผู้ฟัง
ให้สามารถเข้าใจและนึกถึงภาพความเป็นไปของเรื่องได้ นับตั้งแต่บุคลิกลักษณะ
กิริยาท่าทาง อุปนิสัยใจคอของตัวละคร อารมณ์และความรู้สึกต่างๆ
จะต้องแสดงออกทางคำพูดของตัวละคร ใส่ความรู้สึกทางคำพูด การเจรจาบทต้องใส่อารมณ์เป็นพิเศษ
เพราะผู้ฟังมองไม่เห็นภาพตัวละคร
จึงไม่สามารถสังเกตกิริยาท่าทางและสีหน้าของตัวละครได้
บทละครวิทยุต้องมีบทบรรยายแทรกเพื่อช่วยให้การดำเนินเรื่องกระชับ เล่าประวัติเหตุการณ์ต่างๆซึ่งผู้ฟังละครวิทยุไม่สามารถจะมองภาพได้เหมือนละครเวที ผู้ประพันธ์อาจใช้วิธีบรรยายโดยสอดแทรกไว้ในบทสนทนาของตัวละคร
ผู้ควบคุมการแสดงจะต้องมีความสามรถเข้าใจ ตอนไหนจะให้ตัวละครใช้เสียงอย่างไร เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศของเรื่อง เช่นบรรยายว่า ตัวละครวิ่งมาอย่างกระหืดกระหอบ พอมาถึงต้องพูดด้วยสำเนียงที่ละล่ำละลัก พูดแกมหอบ หายใจแรงๆ เป็นต้น
ตัวละครสำหรับบทละครวิทยุต้องมีตัวสำคัญประมาณ 3-4 ตัวและต้องเลือกผู้แสดงที่มีเสียงแตกต่างกันมากๆ มิฉะนั้นผู้ฟังจะแยกเสียงไม่ออกว่าเป็นบทของตัวละครตัวไหน ขณะแสดง ผู้แสดงทุกคนจะยืนอ่านบทอย฿ตรงหน้าไมโครโฟนในห้องส่งวิทยุกระจายเสียง แต่ปัจจุบัน คณะละครวิทยุใช้วิธีบันทึกเสียงครั้งละประมาณ 5 ตอน ออกอากาศไปได้ทั้งสัปดาห์ ถ้ามีการผิดพลาดก็แก้ไขได้
เสียงประกอบ ได้แก่ ดนตรี เสียงสัตว์ เสียงคลื่นลมตามธรรมชาติ เสียงประกอบบทอื่นๆ เช่น เสียงชกต่อย ทะเลาะวิวาทกัน เสียงฟันดาบ ม้าวิ่ง เสียงปืน ฯลฯ
การแต่งกาย ผู้แสดงละครวิทยุแต่งกายแบบสามัญชนธรรมดา เพราะออกอากาศแต่เสียง ผู้ฟังไม่เห็นตัว
2.2 ละครโทรทัศน์ คำว่า "โทร" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า เป็นศัพท์ที่ใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่นหมายถึง ไกล เช่น โทรศัพท์ คือเสียงไกล เครื่องที่พูดกันด้วยกระแสไฟฟ้า "ทัศน์" หมายถึง สิ่งที่เห็นการแสดง ตามพระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498 ให้คำนิยาม "วิทยุโทรทัศน์" ว่า การส่งหรือการรับภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหวในลักษณะไม่ถาวร ด้วยคลื่นแฮรตเซียน (คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ระหว่าง 10 กิโลไซเกิลต่อวินาที และ 3,000,000 เมกะไซเกิลต่อวินาที)
อิทธิพลของโทรทัศน์
ขณะออกอากาศ โทรทัศน์ได้รับความนิยมมากกว่าสื่อมวลชลอื่นๆ ทั้งนี้เพราะโทรทัศน์เปรียบเสมือน วิทยุ ภาพยนตร์ และหนังสือพิมพ์รวมกัน ผู้ชมได้เห็นทั้งภาพได้ยินทั้งเสียง โดยเฉพาะภาคบันเทิง ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์หรือละครโทรทัศน์ ผู้ชมจะติดตามชมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นการหาความบันเทิงที่มีความสุกอยู่ภายในเคหสถาน ไม่ต้องไปเบียดกับประชาชนไปซื้อบัตรเข้าชมในโรงภาพยนตร์ หรือโรงละคร หลีกเลี่ยงสิ่งกวนใจต่างๆได้ ปลอดภัย มีโอกาสหาทางบันเทิงได้พร้อมๆกันภายในครอบครัว
การแสดง ละครโทรทัศน์มีลักษณะการแสดงแตกต่างจากละครวิทยุมาก เพราะละครโทรทัศน์คล้ายละครเวที แต่แสดงยากกว่าละครเวที ซึ่งผู้ชมดูภาพบนเวทีเพียงด้านเดียว แต่โทรทัศน์ขณะแสดงผู้แสดงต้องระวังตัวทุกอริยาบถ เพราะไม่ทราบว่าเมื่อไรกล้องจะจับภาพ เช่น ผู้แสดงเป็นตัวประกอบต่างๆทั้งที่เป็นตัวประกอบสำคัญและตังเสริมลักษณะเรื่อง อันได้แก่ พวกที่แสดงเป็นประชาชน ทหาร ตำรวจ พวกโจร ถ้าไม่ระมัดระวังตัวมัวยืนคุยหรือเล่นกันอยู่ กล้องอาจจะจับภาพออกมาให้ผู้ชมทางบ้านเห็นบ้าง แต่ถ้าเป็นละครเวที ผู้ชมอาจมองไม่เห็นตัวประกอบที่ยืนคุยอยู่บนเวที ละครโทรทัศน์ผู้แสดงต้องใช้รูปร่างลักษณะท่าทางประกอบการแสดง ถ้าเป็นละครรำ ผู้แสดงต้องมีความสามารถใช้ลีลาท่าทางได้อย่างถูกต้อง จึงจะแสดงละครรำทางโทรทัศน์ได้
บทละครโทรทัศน์มีความละเอียดทุกขั้นตอน เพราะบทโทรทัศน์เป็นตัวกำหนดมุมกล้อง กำหนดฉาก การแต่งกายของผู้แสดง ดนตรี เสียงประกอบ บางเรื่องต้องมีภาพประกอบซ้อนขึ้นมาเพื่อให้ละครดูสมจริง บทละครรำของไทยที่มีอยู่แล้ว ถ้าจะนำมาแสดงละครโทรทัศน์ ต้องนำบทละครเรื่องนั้นมาทำเป็นบทโทรทัศน์ใหม่จึงแสดงได้ เพราะจะต้องกำหนดมุมของกล้องจับภาพให้ถูกต้อง เพื่อให้ผู้ชมทางบ้านเข้าใจเรื่อง เมื่อเริ่มแสดง บทละครจะต้องเขียนไว้ว่าจับภาพอะไร ที่ไหน อย่างไร โดยเฉพาะละครรำ กล้องจะต้องจับภาพผู้รำทั้งตัว นับตั้งแตะศรีษะจรดเท้าเพราะศิลปะร่ายรำของไทยกิริยาการเยื้องกรายต่างๆเช่น การยกเท้า กระดกเท้า มือตั้งวงบน วงล่าง เป็นต้น
ตัวละคร ผู้กำกับจะต้องเลือกผู้แสดงให้เหมาะสมตามลักษณะของท้องเรื่อง จำนวนของผู้แสดงจะต้องกำหนดตามเรื่องที่นำมาแสดงเหมือนละครเวที คือ ตัวพระเอก นางเอก ตัวสำคัญ ตัวประกอบ เพราะภาพที่แพร่ออกไปต้องดูสมจริง ตามลักษณะเรื่อง ถ้ามีการยกทัพรบกัน ต้องมีผู้แสดงจำนวนมากเพื่อให้ดูสมเป็นกองทัพจริงๆ
การแสดงละครโทรทัศน์ ผู้กำกับมีความสำคัญ คือ ต้องเข้าใจว่าตัวแสดงแสดงสีหน้าท่าทางอย่างไร และจะต้องเคลื่อนตัวไปในทิศทางใดของมุมห้อง ตัวละครต้องมีความสามารถเป็นพิเศษในการใส่อารมณ์ มีศิลปะในการแสดงอย่างยอดเยี่ยม ทั้งนี้เพราะผู้ชมละครใกล้ชิดกับตัวละครมากสามารถมองข้อบกพร่องของการแสดงได้ทุกขณะ
การแต่งกาย แต่งตามบัญญัติของละครแต่ละประเภท เช่นละครใน ตัวละครแต่งยืนเครื่อง ละครพันทางแต่งตังตามลักษณะเชื้อชาติ เป็นต้น
ละครกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
ความสัมพันธ์ระว่างละครกับประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจะเห็นได้ว่านาฏศิลป์เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชุมชนของตน ที่โดดเด่นและแตกต่างไปจากชุมชนอื่นอย่างไร ดนตรีและนาฏศิลป์ในสมัยต่างๆมีความแตกต่างกัน ทั้งขนบและวิธีการแสดงยังทำให้เข้าใจศิลปะในสมัยต่างๆได้เช่น ละครรำที่ใช้ผู้หญิงแสดงเป็นเครื่องราชูปโภคสำหรับพระเจ้าแผ่นดินไทย ห้ามผู้อื่นมีผู้หญิงแสดงละครจนสมัยรัชการที่ 5 จึงทรงยกเลิก และยังทำให้รู้จักวรรณคดีไทยและภาษาที่ใช้ในวรรณคดีนั้นๆ ทำให้เข้าใจและเห็นคุณค่าของประวัติศาสตร์ ศาสนา และประเทศชาติมากขึ้นทำให้เข้าใจ และเห็นคุณค่าของละครในฐานะที่เป็นที่รวมศิลปะแขนงอื่นๆด้วย
การรักษาเอกลักษณ์ของชาติหรือชุมชนนั้น ในชุมชนหนึ่งมักมีการสืบทอดศิลปะการฟ้อนรำของตนเอาไว้มิให้สูญหาย จึงมักจะมีผู้ที่ถูกเรียกว่าพ่อครู แม่ครู เป็นผู้ทำหน้าที่ดูแลรักษาสืบทอดศิลปะวัฒนธรรมให้เยาวชนรุ่นหลังสืบไป การกระทำเหล่านี้จะเห็นได้ชัดเจนมากในกรณีที่ชุมชนหนึ่งอพยบย้ายถิ่นไปอยู่ในชุมชนอื่น ที่ต่างวัฒนธรรมครั้นตั้งหลักปักฐานได้แล้ว ก็จะจัดตั้งวงดนตรีและนาฏศิลป์ขึ้นเพื่อแสดงเอกลักษณ์ของตนในสังคมใหม่ มีการสอนมีการแสดงเป็นประจำ
ดังนั้นการละครตั้งแต่เดิมจนถึงปัจจุบันจะมีลักษณะเลียนแบบบุคคลจริงๆในสังคม หรือบุคคลในความคิดคำนึงของผู้ประพันธ์ถ่ายทอดประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของท้องถิ่นต่างๆแสดงออกผ่านละคร ตั้งแต่สมัยโบราณกาล ทั้งนี้เพื่อให้ทราบถึงความเป็นอยู่ของคนไทย วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณีของคนทุกชนชั้น ดังจะเห็นได้จากพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเอกอัครอุปถัมภกของศิลปะนานาชนิด
บทละครวิทยุต้องมีบทบรรยายแทรกเพื่อช่วยให้การดำเนินเรื่องกระชับ เล่าประวัติเหตุการณ์ต่างๆซึ่งผู้ฟังละครวิทยุไม่สามารถจะมองภาพได้เหมือนละครเวที ผู้ประพันธ์อาจใช้วิธีบรรยายโดยสอดแทรกไว้ในบทสนทนาของตัวละคร
ผู้ควบคุมการแสดงจะต้องมีความสามรถเข้าใจ ตอนไหนจะให้ตัวละครใช้เสียงอย่างไร เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศของเรื่อง เช่นบรรยายว่า ตัวละครวิ่งมาอย่างกระหืดกระหอบ พอมาถึงต้องพูดด้วยสำเนียงที่ละล่ำละลัก พูดแกมหอบ หายใจแรงๆ เป็นต้น
ตัวละครสำหรับบทละครวิทยุต้องมีตัวสำคัญประมาณ 3-4 ตัวและต้องเลือกผู้แสดงที่มีเสียงแตกต่างกันมากๆ มิฉะนั้นผู้ฟังจะแยกเสียงไม่ออกว่าเป็นบทของตัวละครตัวไหน ขณะแสดง ผู้แสดงทุกคนจะยืนอ่านบทอย฿ตรงหน้าไมโครโฟนในห้องส่งวิทยุกระจายเสียง แต่ปัจจุบัน คณะละครวิทยุใช้วิธีบันทึกเสียงครั้งละประมาณ 5 ตอน ออกอากาศไปได้ทั้งสัปดาห์ ถ้ามีการผิดพลาดก็แก้ไขได้
เสียงประกอบ ได้แก่ ดนตรี เสียงสัตว์ เสียงคลื่นลมตามธรรมชาติ เสียงประกอบบทอื่นๆ เช่น เสียงชกต่อย ทะเลาะวิวาทกัน เสียงฟันดาบ ม้าวิ่ง เสียงปืน ฯลฯ
การแต่งกาย ผู้แสดงละครวิทยุแต่งกายแบบสามัญชนธรรมดา เพราะออกอากาศแต่เสียง ผู้ฟังไม่เห็นตัว
2.2 ละครโทรทัศน์ คำว่า "โทร" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า เป็นศัพท์ที่ใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่นหมายถึง ไกล เช่น โทรศัพท์ คือเสียงไกล เครื่องที่พูดกันด้วยกระแสไฟฟ้า "ทัศน์" หมายถึง สิ่งที่เห็นการแสดง ตามพระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498 ให้คำนิยาม "วิทยุโทรทัศน์" ว่า การส่งหรือการรับภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหวในลักษณะไม่ถาวร ด้วยคลื่นแฮรตเซียน (คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ระหว่าง 10 กิโลไซเกิลต่อวินาที และ 3,000,000 เมกะไซเกิลต่อวินาที)
อิทธิพลของโทรทัศน์
ขณะออกอากาศ โทรทัศน์ได้รับความนิยมมากกว่าสื่อมวลชลอื่นๆ ทั้งนี้เพราะโทรทัศน์เปรียบเสมือน วิทยุ ภาพยนตร์ และหนังสือพิมพ์รวมกัน ผู้ชมได้เห็นทั้งภาพได้ยินทั้งเสียง โดยเฉพาะภาคบันเทิง ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์หรือละครโทรทัศน์ ผู้ชมจะติดตามชมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นการหาความบันเทิงที่มีความสุกอยู่ภายในเคหสถาน ไม่ต้องไปเบียดกับประชาชนไปซื้อบัตรเข้าชมในโรงภาพยนตร์ หรือโรงละคร หลีกเลี่ยงสิ่งกวนใจต่างๆได้ ปลอดภัย มีโอกาสหาทางบันเทิงได้พร้อมๆกันภายในครอบครัว
การแสดง ละครโทรทัศน์มีลักษณะการแสดงแตกต่างจากละครวิทยุมาก เพราะละครโทรทัศน์คล้ายละครเวที แต่แสดงยากกว่าละครเวที ซึ่งผู้ชมดูภาพบนเวทีเพียงด้านเดียว แต่โทรทัศน์ขณะแสดงผู้แสดงต้องระวังตัวทุกอริยาบถ เพราะไม่ทราบว่าเมื่อไรกล้องจะจับภาพ เช่น ผู้แสดงเป็นตัวประกอบต่างๆทั้งที่เป็นตัวประกอบสำคัญและตังเสริมลักษณะเรื่อง อันได้แก่ พวกที่แสดงเป็นประชาชน ทหาร ตำรวจ พวกโจร ถ้าไม่ระมัดระวังตัวมัวยืนคุยหรือเล่นกันอยู่ กล้องอาจจะจับภาพออกมาให้ผู้ชมทางบ้านเห็นบ้าง แต่ถ้าเป็นละครเวที ผู้ชมอาจมองไม่เห็นตัวประกอบที่ยืนคุยอยู่บนเวที ละครโทรทัศน์ผู้แสดงต้องใช้รูปร่างลักษณะท่าทางประกอบการแสดง ถ้าเป็นละครรำ ผู้แสดงต้องมีความสามารถใช้ลีลาท่าทางได้อย่างถูกต้อง จึงจะแสดงละครรำทางโทรทัศน์ได้
บทละครโทรทัศน์มีความละเอียดทุกขั้นตอน เพราะบทโทรทัศน์เป็นตัวกำหนดมุมกล้อง กำหนดฉาก การแต่งกายของผู้แสดง ดนตรี เสียงประกอบ บางเรื่องต้องมีภาพประกอบซ้อนขึ้นมาเพื่อให้ละครดูสมจริง บทละครรำของไทยที่มีอยู่แล้ว ถ้าจะนำมาแสดงละครโทรทัศน์ ต้องนำบทละครเรื่องนั้นมาทำเป็นบทโทรทัศน์ใหม่จึงแสดงได้ เพราะจะต้องกำหนดมุมของกล้องจับภาพให้ถูกต้อง เพื่อให้ผู้ชมทางบ้านเข้าใจเรื่อง เมื่อเริ่มแสดง บทละครจะต้องเขียนไว้ว่าจับภาพอะไร ที่ไหน อย่างไร โดยเฉพาะละครรำ กล้องจะต้องจับภาพผู้รำทั้งตัว นับตั้งแตะศรีษะจรดเท้าเพราะศิลปะร่ายรำของไทยกิริยาการเยื้องกรายต่างๆเช่น การยกเท้า กระดกเท้า มือตั้งวงบน วงล่าง เป็นต้น
ตัวละคร ผู้กำกับจะต้องเลือกผู้แสดงให้เหมาะสมตามลักษณะของท้องเรื่อง จำนวนของผู้แสดงจะต้องกำหนดตามเรื่องที่นำมาแสดงเหมือนละครเวที คือ ตัวพระเอก นางเอก ตัวสำคัญ ตัวประกอบ เพราะภาพที่แพร่ออกไปต้องดูสมจริง ตามลักษณะเรื่อง ถ้ามีการยกทัพรบกัน ต้องมีผู้แสดงจำนวนมากเพื่อให้ดูสมเป็นกองทัพจริงๆ
การแสดงละครโทรทัศน์ ผู้กำกับมีความสำคัญ คือ ต้องเข้าใจว่าตัวแสดงแสดงสีหน้าท่าทางอย่างไร และจะต้องเคลื่อนตัวไปในทิศทางใดของมุมห้อง ตัวละครต้องมีความสามารถเป็นพิเศษในการใส่อารมณ์ มีศิลปะในการแสดงอย่างยอดเยี่ยม ทั้งนี้เพราะผู้ชมละครใกล้ชิดกับตัวละครมากสามารถมองข้อบกพร่องของการแสดงได้ทุกขณะ
การแต่งกาย แต่งตามบัญญัติของละครแต่ละประเภท เช่นละครใน ตัวละครแต่งยืนเครื่อง ละครพันทางแต่งตังตามลักษณะเชื้อชาติ เป็นต้น
ละครกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
ความสัมพันธ์ระว่างละครกับประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจะเห็นได้ว่านาฏศิลป์เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชุมชนของตน ที่โดดเด่นและแตกต่างไปจากชุมชนอื่นอย่างไร ดนตรีและนาฏศิลป์ในสมัยต่างๆมีความแตกต่างกัน ทั้งขนบและวิธีการแสดงยังทำให้เข้าใจศิลปะในสมัยต่างๆได้เช่น ละครรำที่ใช้ผู้หญิงแสดงเป็นเครื่องราชูปโภคสำหรับพระเจ้าแผ่นดินไทย ห้ามผู้อื่นมีผู้หญิงแสดงละครจนสมัยรัชการที่ 5 จึงทรงยกเลิก และยังทำให้รู้จักวรรณคดีไทยและภาษาที่ใช้ในวรรณคดีนั้นๆ ทำให้เข้าใจและเห็นคุณค่าของประวัติศาสตร์ ศาสนา และประเทศชาติมากขึ้นทำให้เข้าใจ และเห็นคุณค่าของละครในฐานะที่เป็นที่รวมศิลปะแขนงอื่นๆด้วย
การรักษาเอกลักษณ์ของชาติหรือชุมชนนั้น ในชุมชนหนึ่งมักมีการสืบทอดศิลปะการฟ้อนรำของตนเอาไว้มิให้สูญหาย จึงมักจะมีผู้ที่ถูกเรียกว่าพ่อครู แม่ครู เป็นผู้ทำหน้าที่ดูแลรักษาสืบทอดศิลปะวัฒนธรรมให้เยาวชนรุ่นหลังสืบไป การกระทำเหล่านี้จะเห็นได้ชัดเจนมากในกรณีที่ชุมชนหนึ่งอพยบย้ายถิ่นไปอยู่ในชุมชนอื่น ที่ต่างวัฒนธรรมครั้นตั้งหลักปักฐานได้แล้ว ก็จะจัดตั้งวงดนตรีและนาฏศิลป์ขึ้นเพื่อแสดงเอกลักษณ์ของตนในสังคมใหม่ มีการสอนมีการแสดงเป็นประจำ
ดังนั้นการละครตั้งแต่เดิมจนถึงปัจจุบันจะมีลักษณะเลียนแบบบุคคลจริงๆในสังคม หรือบุคคลในความคิดคำนึงของผู้ประพันธ์ถ่ายทอดประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของท้องถิ่นต่างๆแสดงออกผ่านละคร ตั้งแต่สมัยโบราณกาล ทั้งนี้เพื่อให้ทราบถึงความเป็นอยู่ของคนไทย วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณีของคนทุกชนชั้น ดังจะเห็นได้จากพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเอกอัครอุปถัมภกของศิลปะนานาชนิด
(อ้างอิงรูปภาพจาก www.kanchanapisek.or.th)
เทคนิคพื้นฐานในการสร้างสรรค์ละคร
ละครเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่นักการศึกษายอมรับว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถนำมา
ประยุกต์ เข้ากับการเรียนการสอนได้ทุกวิชา และส่งผลต่อพัฒนาการด้านสติปัญญา อารมณ์
และสังคม ของผู้เรียนได้มาก
และผู้แสดงยังต้องศึกษาดูบทละครให้เข้าใจถ้องแท้เสียก่อนจึงฝึกซ้อมร่วมกับนักแสดงคนอื่นๆ
ทางด้านผู้ชมระหว่างที่ชมการแสดงละคร จะเกิดอารมณ์ร่วมไปกับการแสดง
กระตุ้นให้เกิดความคิด และวิเคราะห์พฤติกรรมของตัวละครตามมา ในประเทศอังกฤษ
และสหรัฐอเมริกามีการพัฒนาแนวคิดและวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับการนำละครเข้ามาสู่กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
ในนามของละครการศึกษา (Education Theatre )
เทคนิคพื้นฐานในการสร้างสรรค์ละคร
ละครเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่นักการศึกษายอมรับว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถนำมา
ประยุกต์ เข้ากับการเรียนการสอนได้ทุกวิชา และส่งผลต่อพัฒนาการด้านสติปัญญา อารมณ์ และสังคม ของผู้เรียนได้มาก และผู้แสดงยังต้องศึกษาดูบทละครให้เข้าใจถ้องแท้เสียก่อนจึงฝึกซ้อมร่วมกับนักแสดงคนอื่นๆ ทางด้านผู้ชมระหว่างที่ชมการแสดงละคร จะเกิดอารมณ์ร่วมไปกับการแสดง กระตุ้นให้เกิดความคิด และวิเคราะห์พฤติกรรมของตัวละครตามมา ในประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกามีการพัฒนาแนวคิดและวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับการนำละครเข้ามาสู่กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ในนามของละครการศึกษา (Education Theatre )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น